ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
วาระที่
๕.๓ แบบเสนอขอปรับปรุงหลักสูตร
สรุปเรื่อง
๕.๓.๑ ด้วยคณะวิทยาการจัดการ
มีความประสงค์ขอปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เนื่องจากครบวงรอบในการปรับปรุง (๕ ปี)
และหลักสูตรตระหนักถึงความสำคัญ
และเล็งเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย
สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติจึงกำหนดให้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๕๖๔)
ได้มีการพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นโยบายรัฐบาล
และความเชื่อมโยงกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
ซึ่งรูปแบบการเสนอขอปรับปรุงหลักสูตรได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิชาการ
ในคราวประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒ คณะกรรมการมีมติเห็นชอบ
ให้นำเสนอรูปแบบดังกล่าวต่อสภาวิชาการ ในการนี้คณะวิทยาการจัดการ จึงขอเสนอแบบเสนอขอปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
ต่อคณะกรรมการสภาวิชาการเพื่อพิจารณารายละเอียดดังแนบ
๕.๓.๒
ด้วยคณะครุศาสตร์ มีความประสงค์ขอพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
เนื่องจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันกันสูง สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ตลอดจนการยกระดับมาตรฐานทางวิชาชีพให้สูงขึ้นและมีความทันสมัย
ขณะเดียวกันการพัฒนาหลักสูตรจึงเน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้สำเร็จการศึกษาให้เป็นผู้ที่มีความรู้
ความสามารถและสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ที่นำไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษา
ท้องถิ่นและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม
ซึ่งรูปแบบการเสนอขอพัฒนาหลักสูตรได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้นำเสนอรูปแบบ
ดังกล่าวต่อสภาวิชาการ ในการนี้คณะครุศาสตร์ จึงขอเสนอแบบเสนอขอพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
ต่อคณะกรรมการสภาวิชาการเพื่อพิจารณารายละเอียดดังแนบ
๕.๓.๓
ด้วยคณะครุศาสตร์ มีความประสงค์ขอพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
เนื่องจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันกันสูง
สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ตลอดจนการยกระดับมาตรฐานทางวิชาชีพให้สูงขึ้นและมีความทันสมัย
ขณะเดียวกันการพัฒนาหลักสูตรจึงเน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้สำเร็จการศึกษาให้เป็นผู้ที่มีความรู้
ความสามารถและสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ที่นำไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษา
ท้องถิ่นและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม
ซึ่งรูปแบบการเสนอขอพัฒนาหลักสูตรได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้นำเสนอรูปแบบ
ดังกล่าวต่อสภาวิชาการ ในการนี้คณะครุศาสตร์ จึงขอเสนอแบบเสนอขอพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
ต่อคณะกรรมการสภาวิชาการเพื่อพิจารณารายละเอียดดังแนบ
เอกสารและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
๑. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) พ.ศ.
๒๕๕๒
๒. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘
ประเด็นที่เสนอ
๑. เพื่อพิจารณา
๒. สุดแต่จะเห็นสมควรเป็นประการใด
มติคณะกรรมการ
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................